วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

จำแนกตามลักษณะการเจริญเติบโต

จำแนกตามลักษณะการเจริญเติบโต สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
ประเภทไม่แตกกอ (Monopodial) เป็นกล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบ
โตขึ้นไปทางส่วนยอด คือตาที่ยอดจะแตกใบใหม่เจริญขึ้นเรื่อยๆ
ส่วนโคนต้นจะออกรากไล่ตามขึ้นไปเมื่อกล้วยไม้มีอายุมากขึ้นส่วน
ของโคนจะแห้งตายไล่ยอดขึ้นไป กล้วยไม้ประเภทนี้มีระบบรากแบบ
รากอากาศ การเรียงตัวของใบเป็นแบบซ้อนทับกัน และตัวใบต่างมี
ข้อต่อกับกาบใบ ส่วนมากเนื้อใบหนาแบน บางสกุลมีใบเป็นก้านกลม
ดูคล้ายกิ่ง กลีบรองดอกคู่ล่างมักเชื่อมติดกัน ทำให้เกิดเป็นรูปคางขึ้น
กลีบกระเป๋าต่างติดอยู่ตรงโคนเส้าเกสรและมักจะมีเดือยหรือไม่มีก็เป็น
รูปถุงในหลอดเดือย หรือถุงนี้มักมีตุ่มหรือติ่งปรากฏอยู่เสมอ กลุ่มเรณ
มีจำนวน2กลุ่มมีก้านส่งยาวและกลุ่มเรณูหนึ่งๆจะมีร่องความยาวปรากฎ
ให้เห็นการออกดอกจะออกที่ตา ตามข้อของลำต้นเท่านั้นไม่ออกที่ยอด
ลักษณะการถือฝักและเมล็ดปลายฝักจะตั้งชี้ขึ้นเมล็ดที่สมบูรณ์จะมีส
น้ำตาล
ส่วนเมล็ดลีบมีสีขาวกล้วยไม้ที่จัดอยู่ในประเภทไม่แตกกอได้แก่
กล้วยไม้ในสกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลช้าง สกุลกุหลาบ สกุลเสือโคร่ง
สกุลม้าวิ่ง สกุลแมลงปอ สกุลเรแนนเธอร่าและสกุลแวนด๊อฟซิส

ประเภทแตกกอ (Sympodial) เป็นกล้วยไม้ประเภทที่มีรูปทรง
และการเจริญเติบโตคล้ายกับพืชที่แตกกอทั่วไป คือในต้นหนึ่ง
หรือกอหนึ่งจะประกอบด้วยต้นย่อยหลายต้นต้นแท้จริงของกล้วยไม้
ประเภทนี้จะอยู่ในเครื่องปลูก เช่น กล้วยไม้ในสกุลรองเท้านารี
อาจมีลำต้นที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างโผล่ยื่นออกมาซึ่งมักบวมเป่ง
และทำหน้าที่สะสมอาหาร ต้นส่วนนี้เรียกว่า “ลำลูกกล้าย” เช่น
กล้วยไม้ในสกุลหวาย สกุลแคทลียา เป็นต้น กล้วยไม้ประเภท
แตกกอมีระบบรากทั้งที่เป็นรากดิน รากกึ่งดินและรากกึ่งอากาศ
กล้วยไม้ดินมีการเรียงตัวของใบม้วนซ้อนเวียนกันไปส่วนกล้วย
บางชนิดออกดอกที่ตาข้างตามข้อของลำลูกกล้วย บางชนิดออก
ไม้อากาศเรียงซ้อนทับกันการออกดอกบางชนิดออกดอกที่ยอด
ดอกได้ทั้งที่ตายอดและตาข้าง บางชนิดออกดอกเฉพาะลำลูก
กล้วยที่ทิ้งใบหมดแล้ว โคนเส้าเกสรยื่นยาวออกไปและเชื่อมตัด
กันกับกลีบรองดอก ลักษณะการถือฝักและเมล็ด ปลายฝักจะห้อย
ชี้ดินเมล็ดที่สมบูรณ์เมื่อแก่จะมีสีเหลือง ส่วนเมล็ดลีบมีสีขาว
กล้วยไม้ที่จัดอยู่ในประเภทแตกกอ ได้แก่ กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี
สกุลหวาย สกุลแคทลียา สกุลออนซิเดี้ยม และสกุลแกรมมาโตฟิลลั่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น