วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552

โรคและแมลง

ปัญหาที่สำคัญในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ก็คือ โรคและแมลงรบกวน โรคของกล้วย
ไม้มีหลายชนิด บางชนิดทำให้กล้วยไม้ตายภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว เชื้อโรคและแมลงศัตรู
ที่เข้าทำลายกล้วยไม้ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และขยายพันธุ์รวดเร็ว
ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้การป้องกันกำจัดได้ยากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง โรคและแมลงศัตรู
ของกล้วยไม้ที่พบมีดังนี้

โรคเน่าดำหรือยอดเน่า หรือเรียกว่าโรคเน่าเข้าไส้

โรคนี้สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora ลักษณะอาการ โรคนี้สามารถเข้าทำ
ลายกล้วยไม้ได้ทุกส่วน ถ้าเชื้อราเข้าทำลายที่ราก รากจะเน่าแห้ง ซึ่งมีผลทำให้ใบเหลือง ร่วง และ
ตายในที่สุดถ้าเชื้อราเข้าทำลายยอดจะทำให้ยอดเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่อจับจะหลุดติดมือได้ง่าย และ
ถ้าแสดงอาการรุนแรงเชื้อราจะลุกลามเข้าไปในลำต้น เมื่อผ่าดูจะเห็นเป็นสีดำหรือน้ำตาลเข้มตาม
แนวยาวของต้น โรคนี้จะแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะในฤดูฝนหรือช่วงที่มีความชื้น
สูง

การป้องกันและกำจัด

ควรปรับสภาพเรือนกล้วยไม้ให้โปร่ง ไม่ควรปลูกกล้วยไม้หนาแน่นเกินไป ถ้าพบ
โรคนี้ในระยะเป็นลูกกล้วยไม้ให้แยกกระถางที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย ถ้าเป็นกับกล้วยไม้ที่ใด
แล้วควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกเสียจนถึงเนื้อดี แล้วใช้ยาฉีดพ่น ยาป้องกันกำจัดเชื้อราจะต้องใช้ชนิด
ที่สามารถป้องกันเชื้อราชนิดนี้โดยตรง เช่น ไดโพลาแทน, ริโดมิล, เทอราโซล สำหรับการใช้ยา
ประเภทดูดซึมมีข้อควรระวัง คือ อย่าให้ติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เชื้อราดื้อยา ควรผสม
กับยาชนิดอื่นเช่น แมนโคเซป หรือใช้ยาสูตรที่ผสมมาให้เรียบร้อยแล้ว เช่น ริไดมิล เอ็มแซด หรือ
อาจใช้สลับกันระหว่างยาดูดซึมจะทำให้การป้องกันกำจัดได้ผลดียิ่งขึ้น เพราะสารเคมีแต่ละตัวมี
ประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อราได้แตกต่างกัน

โรคดอกสนิมหรือจุดสนิม

เป็นโรคที่จักกันดีในหมู่ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อตัดดอกเป็นขายต่างประเทศ บางอาจ
แสดงอาการระหว่างการขนส่ง เป็นมากกับกล้วยไม้สกุลหวายโดยเฉพาะหวายมาดาม หวายขาว
หวายชมพูและหวายซีซาร์ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Curvularia eragrostidis

ลักษณะอาการ

ปรากฏอาการบนกลีบดอกกล้วยไม้ อาการเริ่มแรกเป็นจุดขนาดเล็กสีน้ำตาลเหลือง เมื่อ
จุดเหล่านี้ขยายโตขึ้นจะเข้มเป็นสีสนิม มีลักษณะค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.1–
0.3 มิลลิเมตร ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวสวนกล้วยไม้นิยมเรียกว่า “โรคราสนิม” ลักษณะดังกล่าวจะ
ปรากฏชัดเจนบนดอกหวายมาดาม แต่อาการบนหวายขาวจะเป็นแผลสีน้ำตาลไม่เป็นแผลสีสนิมชัด
เจนอย่างบนหวายมาดาม โรคนี้ระบาดได้ดีในช่วงฤดูฝนโดยเฉพาะถ้ามีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานๆ
หรือมีน้ำค้างลงจัด โดยจะระบาดติดต่อกันรวดเร็วทั่วทั้งรังกล้วยไม้และบริเวณใกล้เคียง

การป้องกันและกำจัด

หมั่นตรวจดูแลรังกล้วยไม้ให้สะอาดอย่างสม่ำเสมออย่าปล่อยให้ดอกกล้วยไม้บานโรยคาต้น
้เพราะจะเป็นแหล่งให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่ายเก็บรวบรวมดอกที่เป็นโรคให้หมดแล้วนำไปเผาทำลาย
เสียเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมโรค หลังจากนั้นจึงฉีดพ่นสารเคมี เช่น ไดเทนเอ็ม 45, ไดเทนแอลเอฟ
หรือมาเน็กซ์ โดยในช่วงฤดูฝนควรฉีดพ่นให้ถี่ขึ้น

โรคใบจุด

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phyllostictina psriformis พบมากในกล้วยไม้สกุลแวนด้าและสกุลหวาย
ทำให้ต้นกล้วยไม้มีการเจริญเติบโตลดลง เนื่องจากใบมีการปรุงอาหารได้น้อย โรคนี้มีปัญหามากกับผู้เพาะ
เลี้ยงกล้วยไม้เพื่อจำหน่ายต้น

ลักษณะอาการ

ในกล้วยไม้สกุลแวนด้า ลักษณะแผลเป็นรูปยาวรีคล้ายกระสวย ถ้าเป็นมากบางครั้งแผลจะรวมกัน
เป็นแผ่น บริเวณตรงกลางแผลจะมีตุ่มนูนสีน้ำตาลดำ เมื่อลูบดูจะรู้สึกสากมือ ซึ่งในเวลาต่อมาตุ่มนูนนี้
ี้จะแตกออกมีสปอร์จำนวนมาก ระบาดในฤดูฝนถึงฤดูหนาว ส่วนลักษณะอาการที่เกิดกับสกุลหวายจะ
แตกต่างจากสกุลแวนด้า คือ ลักษณะแผลเป็นจุดกลมสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ขอบแผลสีน้ำตาลอ่อน ขนาด
แผลมีได้ตั้งแต่เท่าปลายเข็มหมุดจนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 1 เซนติเมตร บางครั้งแผลจะบุ๋มลึกลงไปหรือ
อาจนูนขึ้นมาเล็กน้อยหรือเป็นสะเก็ดสีดำ เกิดได้ทั้งด้านบนใบและหลังใบ บางทีอาจมีลักษณะแตกต่าง
ออกไปเล็กน้อย คือ บนใบจะมีอาการเป็นจุดกลมสีเหลือง เห็นได้ชัดเจน จุดกลมเหลืองเหล่านี้บางจุดจะ
มีสีดำบริเวณกลางและค่อยแผ่ขยายเป็นจุดกลมสีดำทั้งหมดสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดปี

การป้องกันและกำจัด

ทำได้โดยการรวบรวมใบที่เป็นโรคไปเผาทำลายเสียหรือฉีดพ่นด้วยยาไดเทนเอ็ม 45, ไดเทน
แอลเอฟ หรือยาประเภทคาร์เบนดาซิม เช่น เดอโรซาล เป็นต้น

เพลี้ยไฟ

เป็นที่รู้จักกันดีในวงการผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ในชื่อว่า “ตัวกันสี” เป็นแมลง
ปากดูดที่มีขนาดเล็กมาก มีความยาวประมาณ ? - 2 มิลลิเมตร รูปร่างเรียวยาว ตัวอ่อน
และตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายกันแต่ตัวอ่อนไม่มีปีก ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อนหรือสีน้ำตาล
อ่อน หรือสีดำตัวแก่มีปีกซึ่งมีลักษณะแคบยาวมักจะพบเห็นตัวอ่อนเกาะบนกล้วยไม้
เพลี้ยไฟมีการเคลื่อนไหวรวดเร็วมาก

ลักษณะอาการ

เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่ดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนที่อ่อนๆ เช่น ตามยอด ตาและ ดอก
มักพบเพลี้ยไฟเข้าทำลายก้านช่อดอกกล้วยไม้ในฤดูร้อนและฤดูฝน ทำความเสียหายมาก
แก่กล้วยไม้ในระยะที่ดอกตูมและดอกกำลังบาน โดยการดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ดอกตูมชะงัก
การเจริญเติบโต เป็นสีน้ำตาลและแห้งคาส่วนอาการที่ดอกบานเริ่มแรกจะเห็นเป็น รอย
แผลสีซีดขาวที่ปากหรือกระเป๋า และตำแหน่งของกลีบดอกที่ซ้อนกันต่อมาแผลจะกลาย
เป็นสีน้ำตาลเรียกว่า“ดอกไหม้หรือปากไหม้” ดอกเหี่ยวแห้งง่าย

การป้องกันและกำจัด

อาจใช้พอสซ์ในอัตรา 30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไวเดทแอล อัตรา 30 ซีซี.
ต่อน้ำ 20 ลิตรหรือ ซีเอฟ 35 แอสที 10–15 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยเลือกเวลาการฉีด
ในช่วงเย็นๆ

ก า ร ใ ห้ น้ ำ แ ล ะ ก า ร ใ ห้ ปุ๋ ย

น้ำ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายสาร
อาหารต่างๆ เพื่อให้รากของกล้วยไม้สามารถดูดอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ กล้วยไม้ต้องการน้ำ
ที่สะอาดปราศจากเกลือแร่ที่เป็นพิษ มีความเป็นกรดเป็นด่างหรือค่า pH อยู่ระหว่าง 6–7 แต่น้ำ
ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดต่อความต้องการของกล้วยไม้ คือ น้ำสะอาดบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์เป็นกรด
อ่อนๆ มีค่า pH ประมาณ 6.5 น้ำที่มี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 จึงไม่ควรนำมาใช้รดกล้วยไม้
การทดสอบคุณสมบัติความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำแบบง่ายๆ คือ ทดสอบด้วยกระดาษลิสมัส
ในการเลี้ยงกล้วยไม้ถ้าน้ำมี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 หากมีความจำเป็นต้องใช้น้ำนี้รดกล้วย
ไม้ เนื่องจากไม่สามารถหาน้ำที่มีคุณสมบัติดีกว่า ควรทำให้น้ำมี pH อยู่ระหว่าง 6-7 ก่อน ดังนี้

น้ำที่มีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 คือน้ำมีฤทธิ์เป็นกรดค่อนข้างมาก แก้ไขโดยตักน้ำใส่ภาชนะ
เช่น ตุ่มหรือโอ่งไว้แล้วใช้ โซเดียมไฮดร็อกไซด์ ค่อยๆ เทใส่ลงไป แล้วคนให้เข้ากันจนทั่ว ทำ
การทดสอบระดับ pH จนกระทั่งน้ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7

น้ำที่มีค่า pH สูงกว่า 7 คือน้ำที่มีเกลือแร่ที่เป็นพิษต่อกล้วยไม้ เช่น แคลเซียมไบคาร์
บอเนตปนอยู่ในน้ำแสดงว่าน้ำนั้นมีความเป็นด่างมากไม่เหมาะที่จะนำไปรดกล้วยไม้ วิธีแก้หรือ
ทำให้น้ำนั้นมี pH อยู่ที่ 6-7 ก่อน โ ดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ถัง ตุ่มหรือโอ่งไว้ แล้วใช้ กรด
ไนตริก ค่อยๆ เทใส่ลงไป คนหรือกวนให้เข้ากันจนทั่ว จนกระทั่งน้ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7

การให้ปุ๋ย

ระยะแรกของการปลูกกล้วยไม้ควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโต
ของลำต้นและใบ เมื่อต้นกล้วยไม้ เจริญถึงระยะให้ดอกหรือต้องการเร่งให้ออกดอก ควรใช้ปุ๋ย
สูตรที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูงเพื่อกระตุ้นให้กล้วยไม้ออกดอก

ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ในช่วงฤดูร้อนควรให้ปุ๋ยมากกว่าฤดูหนาวกับฤดูฝน ลูกกล้วยไม้ควรให้ปุ๋ย
ในอัตราที่อ่อนกว่ากล้วยไม้ใหญ่ ถ้าเป็นต้นที่โตเร็ว และได้รับแสงแดดมากต้องให้ปุ๋ยมากกว่า
พวกที่โตช้าและเลี้ยงในร่ม การให้ปุ๋ยควรให้สัปดาห์ละครั้ง การรดปุ๋ยกล้วยไม้ควรรดให้ถูก
ส่วนรากเพราะเป็นส่วนที่ดูดธาตุอาหาร และน้ำได้ดีกว่าใบ และไม่ทำให้กล้วยไม้บอบช้ำ วิธี
การให้ปุ๋ยกล้วยไม้สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

รดด้วยบัวรดน้ำชนิดฝอย

การให้ปุ๋ยวิธีนี้ถ้ารดกล้วยไม้ที่แขวนราวหลายๆ ราว กล้วยไม้ที่อยู่ราวในๆ จะได้รับ
ปุ๋ยไม่ทั่วถึงวิธีแก้ไขโดยแขวนกล้วยไม้เป็นแถวตามแนวตั้ง ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การรดน้ำหรือรด
ปุ๋ยด้วยฝักบัวและสะดวกแก่การบำรุงรักษาได้ทั่วถึงด้วย ถ้าใช้วิธีตั้งกล้วยไม้ไว้บนชั้นแล้วการรด
น้ำหรือรดปุ๋ยด้วยวิธีนี้จะสะดวกขึ้น

พ่นด้วยเครื่องฉีดชนิดฝอย

เป็นวิธีที่เหมาะกับทุกลักษณะของกล้วยไม้ ไม่ว่าจะตั้งหรือแขวนกล้วยไม้ก็สามารถใช้
วิธีนี้ได้แต่ควรเป็นเครื่องฉีดชนิดสูบหรืออัดลม ข้อดีคือทำให้กล้วยไม้ได้รับปุ๋ยทั่วถึงโดยไม่เป็น
อันตรายหรือบอบช้ำจากการกระทบกระเทือนหรือกระแสน้ำแรงเกินไป วิธีจุ่ม คือการให้ปุ๋ยโดย
จุ่มกระถาง กล้วยไม้ลงในน้ำปุ๋ยที่ผสมไว้ ข้อดีของวิธีนี้คือไม่เปลืองน้ำปุ๋ยเพราะน้ำปุ๋ยไม่รั่วไหล
ไปไหนนอกจากติดไปกับกระถางกล้วยไม้ ความชุ่มของน้ำปุ๋ยในกระถางทั่วถึงดี ข้อเสียคือ
กล้วยไม้บางกระถางอาจมีโรคและแมลงอาศัยอยู่ เมื่อจุ่มลงในน้ำปุ๋ยโรคและแมลงจะปนออกมา
กับน้ำปุ๋ย เมื่อนำกระถางกล้วยไม้อื่นมาจุ่มจะทำให้ติดเชื้อโรคและแมลงนั้นได้ ฉะนั้นวิธีนี้จึงอาจ
เป็นสื่อติดต่อของโรคและแมลงได้ง่าย และถ้าหากไม่ใช้ความระมัดระวังแล้วหน่อที่แตกใหม่อาจ
จะกระทบกับความแข็งของภาชนะที่ใส่ปุ๋ยทำให้บอบช้ำและเน่าได้

ปล่อยน้ำปุ๋ยเข้าท่วมกระถางแล้วระบายออก วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้สำหรับการปลูกกล้วยไม้
หรือต้นไม้กระถางในเรือนกระจกใหญ่ ๆ โดยตั้งกระถางบนโต๊ะที่ทำเป็นอ่างเก็บน้ำได้ เมื่อ
ต้องการให้ปุ๋ย ก็ปล่อยน้ำปุ๋ยที่ผสมตามสัดส่วนให้เข้าไปท่วมกระถางกล้วยไม้ตามระยะกำหนด
เวลาที่ต้องการ เมื่อเสร็จแล้วก็ระบายน้ำปุ๋ยออก วิธีนี้ถ้านำไปใช้กับบริเวณเนื้อที่ที่มีต้นไม้มากๆ
และเป็นบริเวณที่ควบคุมสภาพของธรรมชาติแวดล้อมได้จะได้ผลดี

ใช้เครื่องผสมปุ๋ยกับน้ำ

เป็นเครื่องผสมปุ๋ยแบบอัตโนมัติที่ใช้ในการผสมปุ๋ยกับน้ำตามอัตราส่วนที่ต้องการ
โดยต่อเครื่องเข้ากับท่อน้ำ ที่ใช้รดกล้วยไม้ ภายในเครื่องมีปุ๋ยละลายน้ำเข้มข้นอยู่ เมื่อรดน้ำ
ปุ๋ยก็จะผสมไปกับน้ำแล้วพ่นออกไปสู่กล้วยไม้ผ่านไปทางหัวฉีดทันที เครื่องผสมปุ๋ยนี้สามารถจะ
ปรับหรือตั้งเพื่อให้ปุ๋ยผสมไปกับน้ำตามอัตราความเข้มที่ต้องการได้ จึงเหมาะสำหรับสวนกล้วยไม้
ที่มีจำนวนกล้วยไม้มากๆ

การปลูกกล้วยไม้



การล้างลูกกล้วยไม้

คือการล้างลูกกล้วยไม้ จากการเพาะเนื้อเยื่อออกจากขวดเพา แล้วล้างให้หมดเศษ
วุ้นอาหาร นำจุ่มลงในน้ำยานาตริฟิน ในอัตราส่วนน้ำยา 1 ส่วน ต่อน้ำสะอาด 2,000 ส่วน
แล้วนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม แยกลูกกล้วยไม้ออกเป็น 2 ขนาด คือ ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่
พอจะปลูกลงในกระถางนิ้ว

การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดเล็ก

ลูกกล้วยไม้ขนาดเล็กให้ปลูกในกระถางหมู่ หรือกระถางดินเผาทรงสูงขนาด 4-6
นิ้ว รองก้นกระถางด้วยถ่าน ขนาดประมาณ 1 นิ้ว สูงจนเกือบถึงขอบล่างของกระถาง แล้ว
โรยทับด้วยออสมันด้า หนาประมาณ 1 นิ้ว ให้ระดับออสมันด้าต่ำกว่าขอบกระถางประมาณ
ครึ่งนิ้ว ใช้มือข้างหนึ่งจับไม้กลมๆ เจาะผิวหน้าออสมันด้า ในกระถางให้เป็นรูลึกและกว้างพอ
สมควร ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับปากคีบ คีบลูกกล้วยเบาๆ เอารากหย่อนลงไปในรูที่เจาะไว้ ให้
ยอดตั้งตรง แล้วกลบออสมันด้าลงไปในรูให้ทับรากจนเรียบร้อย ควรจัดระยะห่างระหว่างต้น
ให้พอดี กระถางหมู่ขนาดปากกว้าง 4 นิ้ว ปลูกลูกกล้วยไม้ได้ประมาณ 40-50 ต้น

การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดใหญ่

ลูกกล้วยไม้ที่ต้นใหญ่ให้ปลูกในกระถางขนาด 1 นิ้ว ใช้ไม้แข็งๆ ค่อยๆ แคะออสมัน
ด้าในกระถางตามแนวตั้งออกมา ใช้นิ้วมือรัดเส้นออสมันด้าให้คงเป็นรูปตามเดิม ค่อยๆ แบะ
ออสมันด้าให้แผ่บนฝ่ามือ หยิบลูกกล้วยไม้มาวางทับ ให้โคนต้นอยู่ในระดับผิวหน้าตัดของ
ออสมันด้าพอดี หรือต่ำกว่าเล็กน้อย แล้วรวบออสมันด้าเข้าด้วยกัน นำกลับไปใส่กระถางตาม
เดิม เสร็จแล้วนำเข้าไปเก็บไว้ในเรือนเลี้ยงลูกกล้วยไม้ สำหรับลูกกล้วยไม้ขนาดเล็ก ที่อยู่ใน
กระถางหมู่มาเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือนขึ้นไป มีลำต้นใหญ่แข็งแรงพอสมควรแล้วควร
ย้ายไปปลูกลงในกระถางนิ้ว โดยนำกระถางหมู่ไปแช่น้ำประมาณ 10 นาที ค่อยๆ แกะรากที่
จับกระถางและเครื่องปลูกออก แยกเป็นต้นๆ นำไปปลูกลงในกระถางนิ้วเช่นเดียวกัน

การปลูกลงในกระเช้า

เมื่อลูกกล้วยไม้ในกระถางนิ้วมีรากเจริญแข็งแรงดี มีใบยาวประมาณข้างละ 2 นิ้ว ซึ่ง
จะใช้เวลาในการปลูกประมาณ 6-7 เดือน ก็นำไปลงปลูกในกระเช้าไม้ขนาด 3-5 นิ้ว ด้วยการ
นำกระถางนิ้วไปแช่น้ำประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้แกะออกจากกระถางได้ง่าย ใช้นิ้วดันที่รู
ก้นกระถาง ทั้งต้นและออสมันด้าจะหลุดออกมา มือข้างหนึ่งจับออสมันด้าและลูกกล้วยไม้วาง
ลงตรงกลางกระเช้าที่เตรียมไว้ มืออีกข้างหนึ่งหยิบก้อนถ่านไม้ขนาดพอเหมาะใส่ลงไปในช่อง
ระหว่างออสมันด้ากับผนังของกระเช้าให้พยุงลำต้นได้ นำไปแขวนไว้ในเรือนกล้วยไม้


การย้ายภาชนะปลูก

เมื่อลูกกล้วยไม้มีใบยาว 4-5 นิ้ว ควรจะย้ายไปปลูกในกระเช้าไม้ขนาด 8-10 นิ้วก้อน
โดยสวมกระเช้าเดิมลงไปในกระเช้าใหม่เพื่อมิให้รากกระทบกระเทือน ใช้ก้อนถ่านไม้ใหญ่ๆ
วางเกยกันโปร่งๆ หรือจะไม่ใช้เลยก็ได้ เนื่องจากกล้วยไม้ไม่ต้องการเครื่องปลูก ที่แน่นและชื้น
แฉะเป็นเวลานานๆ ถ้าไม่ต้องการสวมกระเช้าเดิมลงไป ก็นำกระเช้าเดิมไปแช่น้ำก่อนเพื่อให้
แกะรากที่จับติดกระเช้าออกได้ง่าย นำต้นที่แกะออกแล้ววางตรงกลางกระเช้าให้ยอดตั้งตรงมัด
รากบางรากให้ติดกับซี่พื้นด้านข้างของกระเช้า

การตกแต่งกล้วยไม้ต้นใหญ่ก่อนปลูก

สำหรับกล้วยไม้ลำต้นใหญ่ที่ได้มาจากที่อื่นหรือจากการแยกหน่อ จะต้องตัดรากและ
ใบที่เน่าหรือเป็นแผลใหญ่ๆ ทิ้งเสียก่อน รากบางส่วนที่ยังดีแต่ยาวเกินไป อาจตัดให้สั้นจน
เกือบถึงโคนต้น แล้วทาแผลที่ตัดทุกแผลด้วยปูนแดงหรือยาป้องกันโรค เช่น ออร์โธไซด์ 50
ผสมน้ำให้เละมากๆ นำต้นกล้วยไม้ลงปลูกในกระเช้าไม้ซึ่งมีขนาดเหมาะสมกับลำต้น

กล้วยไม้สกุลหวาย

เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุด มีการแพร่กระจายพันธุ์ออกไปในบริเวณกว้างทั้งใน
ทวีปเอเซียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นหมู่ประ
มาณ 20 หมู่ และรวบรวมกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ค้นพบแล้วได้ประมาณ 1,000 ชนิดพันธุ์

กล้วยไม้สกุลหวาย มีลักษณะการเจริญเติบโตแบบซิมโพเดียล คือมีลำลูกกล้วย
เมื่อลำต้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะแตกหน่อเป็นลำต้นใหม่และเป็นกอ ใบแข็งหนาสีเขียว
ดอกมีลักษณะทั่วไปของกลีบชั้นนอกคู่บนและคู่ล่างขนาดยาวพอๆ กันโดยกลีบชั้นนอก
บนจะอยู่อย่างอิสระเดี่ยวๆ ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะมีส่วนโคน ซึ่งมีลักษณะยื่นออกไป
ทางด้านหลังของส่วนล่างของดอกประสานเชื่อมติดกับฐาน หรือสันหลังของเส้าเกสร
และส่วนโคนของกลีบชั้นนอกคู่ล่างและส่วนฐานของเส้าเกสรซึ่งประกอบกันจะปูดออกมา
มีลักษณะคล้ายเดือยที่เรียกว่า “เดือยดอก” สำหรับกลีบชั้นในทั้งสองกลีบมีลักษณะต่างๆ
กันแล้วแต่ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้นั้นๆ

กล้วยไม้หวายป่าของไทยมีสีสวยงาม ก้านช่อสั้น สำหรับกล้วยไม้สกุลหวายที่เป็น
กล้วยไม้อยู่ในป่าของไทย มีหลายชนิดอันได้แก่พวก “เอื้อง” ต่างๆ เช่น

กล้วยไม้สกุลแวนด้า

แวนด้าเป็นกล้วยไม้ประเภทโมโนโพเดี้ยล ไม่แตกกอ เจริญเติบโตไปทางยอด
รากเป็นรากอากาศ ใบมีลักษณะกลม แบนหรือร่อง ใบซ้อนสลับกัน ช่อดอกจะออกด้านข้าง
ของลำต้นสลับกับใบ ช่อดอกยาวและแข็ง กลีบนอกและกลีบในมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน
โคนกลีบแคบ และไปรวมกันที่โคนเส้าเกสร กลีบดอกในล่างด้านใต้มีเดือยแหลมยื่นออกมา
ท้ายของปากกระเป๋า ปากกระเป๋าของแวนด้าเป็นแบบธรรมดาแบนเป็นแผ่นหนาแข็ง และ
พุ่งออกด้านหน้า รูปลักษณะคล้ายช้อน หูกระเป๋าทั้งสองข้างแข็งและตั้งขึ้น สีดอกมีมากมาย
แตกต่างกันตามแต่ละชนิด
กล้วยไม้สกุลแวนด้าพบในป่าตามธรรมชาติประมาณ 40 ชนิด มีกระจายพันธุ์อยู่
ในทวีปเอเซีย ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย อินโดนีเซีย จนถึงฟิลิปปินส์ แวนด้าได้
ปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นอีกหลายพันธุ์ ปัจจุบันได้มีการจำแนกประเภทของแวนด้า โดยอาศัย
รูปร่างลักษณะของใบออกเป็น 4 ประเภท คือ
แวนด้าใบกลม มีลักษณะของใบกลมยาวทรงกระบอก ต้นสูง ข้อห่าง สังเกตได้ที่
ใบติดอยู่ห่างๆ กัน มีดอกช่อละหลายดอก แต่ดอกจะบานติดต้นอยู่คราวละ 2–3 ดอกเท่านั้น
เมื่อดอกข้างบนบานเพิ่มขึ้น ดอกข้างล่างจะโรยไล่กันขึ้นไปเรื่อยๆ การปลูกใช้ดอกจึงนิยม
ปลิดดอกมากกว่าตัดดอกทั้งช่อ
แวนด้าใบแบน ลักษณะใบแผ่แบนออก ถ้าตัดมาดูหน้าตัดจะเป็นรูปตัววี มีข้อถี่
ปล้องสั้น ใบซ้อนชิดกัน ปลายใบโค้งลงและจักเป็นแฉก
แวนด้าใบร่อง มีรูปทรงของใบและลำต้นคล้ายใบแบนมากกว่าใบกลม แวนด้าประ
เภทนี้ไม่พบในป่าธรรมชาติ การนำมาปลูกเลี้ยงเป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งสิ้น โดยนำแวนด้าใบกลม
มาผสมกับแวนด้าใบแบน
แวนด้าก้างปลา มีรูปทรงของใบและลำต้น กิ่งใบกลมกับใบแบน พบตามป่าธรรม
ชาติน้อยมาก เพราะกล้วยไม้พันธุ์นี้เป็นหมันทั้งสิ้น















เข็มขาว(Vanda lilacina)

เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ และ ภาคกลางตอนบน ใบรูปแถบเรียงสลับ ปลายใบหยักเป็นฟัน
ออกดอกที่ข้างลำต้น มีหลายช่อ ยาว 12-15 ซม. ช่อดอกค่อนข้างโปร่ง ดอก
ขนาด 1.5-2 ซม. กลีบดอกสีขาวรูปแถบแกมรูปไข่กลับ กลีบปากมีลักษณะ
เป็นถุงขนาดเล็ก ปลายแผ่เป็นแผ่นสั้นผายออก มีจุดขนาดเล็กสีม่วงหนาแน่น
ปลายเส้าเกสรสีเหลือง ออกดอกเดือนมกราคม-เมษายน

เอื้องสามปอยหลวง (Vanda benbonii)

เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือและภาคตะ
วันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะคล้ายกับสามปอยชมพู มีใบกว้างและยาวกว่า
เล็กน้อย ดอกช่อหนึ่งมีประมาณ 10 ดอก ดอกมีกลีบนอกและกลีบในมีสี
ขาวอมเหลืองกลีบดอกห่าง หูปากทั้งสองข้างสีขาวแผ่นปากสีเขียวเหลือบ
เหลือง ปากเว้าเดือยสั้น รูปดอกใหญ่ขนาดดอกโตประมาณ 7 เซนติเมตร
ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม

ฟ้ามุ่ย (Vanda coerulea)



เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบนที่มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือของไทย
ลักษณะของใบค่อนข้างกว้างกว่าใบของแวนด้าชนิดอื่น ยาวประมาณ
20 เซนติเมตร กว้าง 2.5 เซนติเมตร ใบซ้อนเรียงสลับกัน ช่อดอกตั้งตรง
ยาวประมาณ 20–50 เซนติเมตร ออกดอก 5–15 ดอก ดอกสีฟ้าอ่อนจึง
ถึงฟ้าแก่ มีลายเป็นตารางสีฟ้าแก่กว่าสีพื้น ปากเล็กหูปากแคบโค้ง ปลาย
มนที่ปลายมี 2 ติ่ง เส้าเกสรเบื้องบนสีขาว ขนาดดอกใหญ่ประมาณ 7–10
เซนติเมตร ดอกขนาดใหญ่และบานทนนาน ออกดอกเดือนกรกฎาคม
-ธันวาคม

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

การสมัครเขียนบล็อกฟรี ที่ Blogger.com

1. เข้าสมัครสมาชิกได้ที่เว็บไซต์ http://www.blogger.com/
2. คลิกที่เริ่มสร้างบล็อกที่ CREATE YOUR BLOG NOW









3. กรอกรายละเอียดส่วนตัว ชื่อล็อกอิน / รหัสผ่าน / ชื่อบล็อก / อีเมล์เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continue













4. ระบุรายละเอียดของบล็อกBlog title : ระบุชื่อบล็อกBlog address (URL) : ชื่อยูอาแอลสำหรับเรียกใช้งาน
http://arnut.blogpot.comWorld Verification : พิมพ์รหัสที่ระบบบอกมาเสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continue













5 . ระบบจะแสดง Template ให้เลือกใช้งานหลายแบบ ให้ทำการคลิกเลือก Template ที่ต้องการเสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continu















6 . ระบบแสดงข้อความกำลังทำการสร้าง blog ให้อยู่










7. ทำการสร้าง blog เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม START POSTING เพื่อทดสอบเข้าใช้งาน








8. พิมพ์รายละเอียดข้อความแรกในบล็อก หลังพิมพ์ฺเสร็จสามารถคลิก preview ดูผลก่อนได้ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Publish Post
















9. เสร็จสิ้นการติดตั้งเว็บบล็อกให้คลิกที่ View Blog เพื่อดูผล







10. แสดงบล็อกส่วนตัวที่สร้างเสร็จแล้วสังเกต url ด้านบนจะเป็น http://arnut.blogspot.com/















11. ที่นี้กรณีที่ต้องการเขียน Blog เพิ่มเติม หรือเข้าไปแก้ไข Blog สามารถล็อกอินเข้าได้ที่http://www.blogger.com/start
มพ์ชื่อ username / Password เสร็จแล้วคลิกปุ่ม SIGN INเพื่อเข้าระบบ











12. จะเข้าสู่หน้าต่างผู้ดูแลบล็อกสำหรับแก้ไข และปรับแต่งข้อมูลต่างๆ ดังรูปทำการแก้ไขข้อมูลต่างๆ ตามต้องการ


















































































































































































































วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

เอื้องแปรงสีฟัน


Dendrobium secundum (Blume) Lindl. เอื้องแปรงสีฟัน หรือชื่ออื่นๆคือ เอื้องสีฟัน, เอื้องหงอนไก่, คองูเห่ากล้วยไม้กึ่งรากอากาศ นิยมปลูกเลี้ยงเกาะติดขอนไม้ หรือเครื่องปลูกถ่านหุงข้าว กาบมะพร้าว เพื่อให้รากเกาะ ต้นเป็นลำกลม ยาวประมาณ 15-30 ซม. ขึ้นเป็นกอ ผิวต้นเป็นร่องตื้นๆ ปลายเรียว ทิ้งใบก่อนออกดอก ช่อดอกเกิดใกล้ยอดเอื้องแปรงสีฟันเป็นกล้วยไม้ที่มีดอกขนาดเล็ก 1 ช่อดอกจะประกอบด้วยดอกย่อยได้มากถึง 50-60 ดอก ดอกจะทยอยบานจากโคนไปสู่ปลายช่อ ใช้เวลานานหลายอาทิตย์สีดอกชมพูอ่อนอมม่วง ฤดูออกดอก ช่วงกุมภาพันธ์ – เมษายน ออกดอกปีละครั้ง

เอื้องครั่ง(Den. parishii)

ทลำลูกกล้วยรูปรี ค่อนข้างอวบ ใบรูปขอบขนานแกมรูป
ไข่ ออกดอกที่ข้อ1-3 ดอก ดอกกว้าง 3-5 เซนติเมตรกลีบดอกสีม่วง
โคนกลีบดอกกระดกห่อขึ้น ปลายกลีบแหลมมีขนสั้นๆ ปกคลุมกลาง
กลีบสีม่วง ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม
พบทางภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันตก

เอื้องคำ(Den. chrysotoxum)

เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยรูปทรงหลายเหลี่ยมโดยจะมี
ตอนกลางลำโป่ง แล้วเรียวลงมาโคนและยอด ความยาวประมาณ
20–50 เซนติเมตร เมื่อลำแก่จะมีสีค่อข้างเหลืองตอนบนของลำ
จะมีใบอยู่ 4–5 ใบ ยาวประมาณ 20–30 เซนติเมตรออกดอก
เป็นช่อ 12-25 ดอก แต่ละช่อดอกจะห่างไม่อัดแน่นดอกมีสีส้มสด
กลีบปากสีส้มมีขนาดใหญ่ โคนกระดกห่อขึ้นปลายบาน เป็นทรง
กลมมีขนนุ่มปกคลุม ขอบกลีบหยักเป็นคลื่ขนาดดอกประมาณ
3-5เซนติเมตรมีกลิ่นหอมออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม
พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาค
ตะวันตก

เอื้องสายหลวง, เอื้องสาย(Den. anosmum)


ลำลูกกล้วยห้อยลงเป็นสายยาว ใบรูปรีขอบขนาน ปลาย
ใบแหลม ดอกเดี่ยวออกตามข้อ ดอกกว้าง 4-5 เซนติเมตรสีม่วง
อ่อน กลีบปากรูปทรงกลมปลายแหลม โคนกลีบปากม้วนเข้าหา
กัน และมีแต้มสีม่วงเข้มทั้งสองด้าน ผิวกลีบด้านในมีขนปกคลุม
ผิวด้านนอกมีขนเฉพาะขอบกลีบ ดอกมีกลิ่นหอมออกดอกเดือน
เมษายนถึงมิถุนายนช่วงออกดอกมักผลัดใบ พบทางภาคใต้

เอื้องช้างน้าว, เอื้องคำตาควาย(Den. pulchellum)


เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะกลม ต้นอ่อนเป็นเส้น
สีม่วงลักษณะ ใบรูปไข่ยาวประมาณ 10–15 เซนติเมตรเมื่อลำ
แก่แล้วจะทิ้งใบ แตกช่อห้อยที่ปลายลำ ออกดอกในเดือน
กุมภาพันธ-มีนาคม ช่อหนึ่งมี 5–10 ดอก กลีบดอกเป็นสีเหลือง
ีอ่อนมีเส้นเหลืองชมพู ปากรูปไข่กลมแบะแอ่นลงมีแต้มสีเลือด
หมู 2 แต้ม กลีบนอกเป็นรูปใบ ภายในกลีบเป็นรูปไขjขนาดดอก
่ โตประมาณ 5–7 เซนติเมตร พบทางภาคเหนือภาคตะวันออก
เฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคใต้

เหลืองจันทบูร(Den. friedericksianum)


เป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดแถบจังหวัดจันทบุรี เป็น
กล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะเป็นโคนเล็ก แล้วค่อยโป่งไป
ทางตอนปลายขนาดลำยาวมาก บางต้นยาวถึง 75 เซนติเมตร
เมื่อลำแก่จะเป็นสีเหลืองโดยด้านข้างของลำจะมีใบอยู่ทั้งสอง
ข้าง ออกดอกในเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนช่อดอกออกตาม
ข้อของลำต้นออกดอกเป็นช่อๆ ละ 2–4 ดอก กลีบดอกเป็น
มัน รอบแรกดอกจะเป็นสีเหลืองอ่อนแล้ว จะค่อยๆ เข้มขึ้นจน
เป็นสีจำปา ปากสีเข้มกว่ากลีบ ในคอมีสีแต้มเป็นสีเลือดหมู 2

เอื้องผึ้ง(Den. aggregatum)

เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยป้อมสั้นและเบียดกันแน่น
ลักษณะใบแข็งหนาสีเขียวจัด ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึง
พฤษภาคม ก้านช่อดอกอ่อนโค้งลงมา ช่อหนึ่งมีมากกว่า 20
ดอก พื้นดอกสีเหลืองอ่อน ปากสีเหลืองเข้ม ขนาดดอกโตประ
มาณ 3 เซนติเมตร พบมากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียง
เหนือตอนบน ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้

เอื้องม่อนไข่, เอื้องม่อนไข่ใบมน(Den. thyrsiflorum)


เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมค่อน
ข้างกลมหรือแบนโคนเล็กและใหญ่ด้านบน สีเขียว ลำลูกกล้วย
ลำหนึ่งๆ มีใบประมาณ 3–4 ใบ ลักษณะใบแหลมยาวประมาณ
10–18 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกห้อยเป็นพวงยาว
ดอกแน่น กลีบดอกสีขาวกางผายออก โคนกลีบปากกระดกม้วน
ขึ้น ปลายแหลม ม้วนขึ้นสีเหลือง ภายในมีขนแต่ริมสันปากไม่มี
ขน ขนาดดอกโตประมาณ 2-4 เซนติเมตร บานพร้อมกันทั้งช่อ
และบานนานประมาณ 1 สัปดาห์ ออกดอกเดือนมกราคมถึง
เมษายน พบมากตามป่าดิบที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร
ขึ้นไป ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เอื้องสามปอยขุนตาล(Vanda denisoniana )

เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือและภาคตะ
วันออกเฉียงเหนือตอนบน ช่อดอกออกด้านข้างไม่ตั้งตรง ช่อดอกสั้น มี
ดอกประมาณ 5–7 ดอกต่อช่อ รูปดอกโปร่ง กลีบดอกหนาแข็ง ไม่ค่อย
ซ้อน ดอกมีสีเหลือง บางต้นสีเหลืองเข้ม บางชนิดมีประจุดสีน้ำตาลอยู่
ที่โคนกลีบ กลีบหนาแข็งคล้ายดอกไม้เทียน ดอกขนาด 6-7 เซนติเมตร
ออกดอกเดือนกันยายน-พฤศจิกายน

จำแนกตามลักษณะราก


ระบบรากดิน
จัดเป็นกล้วยไม้ที่มีระบบรากเกิดจากหัวที่อวบน้ำอยู่ใต้ดิน ตัวรากจะมีน้ำมาก เช่นกล้วยไม้สกุลนางอั้วกล้วยไม้ประเภทนี้พบมากบริเวณพื้นที่ที่มีสภาพอากาศในฤดูกาลที่ชัดเจน เช่น ฤดูฝนมีฝนตกชุก และมีฤดูแล้ง เมื่อถึงฤดูฝนหัวจะแตกหน่อใบอ่อนจะชูพ้นขื้นมาบนผิวดิน และออกดอกในตอนปลายฤดูฝน เมื่อพ้นฤดูฝนไปแล้วใบก็จะทรุดโทรมและแห้งไป คงเหลือแต่หัวที่อวบน้ำและมีอาหารสะสมฝังอยู่ใต้ดินสามารถทนความแห้งแล้งได้
ระบบรากกึ่งดิน
มีรากซึ่งมีลักษณะอวบน้ำ ใหญ่หยาบและแตกแขนงแผ่กระจายอย่างหนาแน่น สามารถเก็บสะสมน้ำได้ดีพอสมควร กล้วยไม้ประเภทนี้พบอยู่ตามอินทรีย์วัตถุ ที่เน่าเปื่อยผุพังร่วนโปร่ง กล้วยไม้ที่มีระบบ รากกึ่งดิน ได้แก่ กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี สกุลสเปโธกล๊อตติส สกุลเอื้องพร้าว เป็นต้น
ระบบรากกึ่งอากาศ
เป็นระบบรากที่มีเซลล์ผิวของรากมีชั้นเซลล์ที่หนา และมีลักษณะคล้ายฟองน้ำผิวนอกเกลี้ยงไม่มีขน มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ เก็บและดูดน้ำได้มาก สามารถนำน้ำไปใช้ตามเซลล์ผิวได้ตลอดความยาวของรากระบบรากกึ่งอากาศมักมีรากแขนงใหญ่หยาบอยู่กัน อย่างหนาแน่นไม่มีรากขนอ่อนรากมีขนาดเล็ก กว่า รากอากาศ กล้วยไม้ระบบรากกึ่งอากาศได้แก่ กล้วยไม้สกุลแคทลียา สกุลออนซิเดี้ยม เป็นต้น

จำแนกตามลักษณะลำต้น


จำแนกตามลักษณะลำต้นการจำแนกประเภทของกล้วยไม้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆตามลักษณะภายนอกเพื่อ สะดวกในการปลูกเลี้ยงการขยายพันธุ์ตลอดจนการศึกษาค้นคว้าซึ่งการจำกล้วยไ้ม้ ้สามารถจำแนกได้ดังนี้ลำต้นแท้ คือลำต้นที่มีข้อปล้องเหมือนกับลำต้นของพืชใบเลี้ยง เดี่ยวทั่วไป ที่ส่วนเหนือข้อจะมีตา ซึ่งสามารถเจริญเป็น หน่อใหม่และช่อดอกได้ลำต้นประเภทนี้จะเจริญเติบโต ออกไปทางยอด ได้แก่ กล้วยไม้สกุลแวนด้า แมลงปอ และรองเท้านารีลำต้นเทียม หรือที่เรียกว่า ลำลูกกล้วย ทำหน้าที่สะสมอาหาร ตาที่อยู่ตามข้อบนๆของลำลูกกล้วยสามารถแตก เป็นหน่อหรือช่อดอกได้ แต่ลำต้นที่แท้จริงของ กล้วยไม้ประเภทนี้คือเหง้า ซึ่งเจริญในแนวนอน ไปตามผิวของเครื่องปลูกลักษณะของเหง้ามีข้อ และปล้องถี่กล้วยไม้ที่มีลำต้นลักษณะนี้ ได้แก่ กล้วยไม้สกุลหวายแคทลียา เอพิเด็นดรั้มและสกุล ออนซิเดี้ยม

จำแนกตามลักษณะการเจริญเติบโต

จำแนกตามลักษณะการเจริญเติบโต สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
ประเภทไม่แตกกอ (Monopodial) เป็นกล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบ
โตขึ้นไปทางส่วนยอด คือตาที่ยอดจะแตกใบใหม่เจริญขึ้นเรื่อยๆ
ส่วนโคนต้นจะออกรากไล่ตามขึ้นไปเมื่อกล้วยไม้มีอายุมากขึ้นส่วน
ของโคนจะแห้งตายไล่ยอดขึ้นไป กล้วยไม้ประเภทนี้มีระบบรากแบบ
รากอากาศ การเรียงตัวของใบเป็นแบบซ้อนทับกัน และตัวใบต่างมี
ข้อต่อกับกาบใบ ส่วนมากเนื้อใบหนาแบน บางสกุลมีใบเป็นก้านกลม
ดูคล้ายกิ่ง กลีบรองดอกคู่ล่างมักเชื่อมติดกัน ทำให้เกิดเป็นรูปคางขึ้น
กลีบกระเป๋าต่างติดอยู่ตรงโคนเส้าเกสรและมักจะมีเดือยหรือไม่มีก็เป็น
รูปถุงในหลอดเดือย หรือถุงนี้มักมีตุ่มหรือติ่งปรากฏอยู่เสมอ กลุ่มเรณ
มีจำนวน2กลุ่มมีก้านส่งยาวและกลุ่มเรณูหนึ่งๆจะมีร่องความยาวปรากฎ
ให้เห็นการออกดอกจะออกที่ตา ตามข้อของลำต้นเท่านั้นไม่ออกที่ยอด
ลักษณะการถือฝักและเมล็ดปลายฝักจะตั้งชี้ขึ้นเมล็ดที่สมบูรณ์จะมีส
น้ำตาล
ส่วนเมล็ดลีบมีสีขาวกล้วยไม้ที่จัดอยู่ในประเภทไม่แตกกอได้แก่
กล้วยไม้ในสกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลช้าง สกุลกุหลาบ สกุลเสือโคร่ง
สกุลม้าวิ่ง สกุลแมลงปอ สกุลเรแนนเธอร่าและสกุลแวนด๊อฟซิส

ประเภทแตกกอ (Sympodial) เป็นกล้วยไม้ประเภทที่มีรูปทรง
และการเจริญเติบโตคล้ายกับพืชที่แตกกอทั่วไป คือในต้นหนึ่ง
หรือกอหนึ่งจะประกอบด้วยต้นย่อยหลายต้นต้นแท้จริงของกล้วยไม้
ประเภทนี้จะอยู่ในเครื่องปลูก เช่น กล้วยไม้ในสกุลรองเท้านารี
อาจมีลำต้นที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างโผล่ยื่นออกมาซึ่งมักบวมเป่ง
และทำหน้าที่สะสมอาหาร ต้นส่วนนี้เรียกว่า “ลำลูกกล้าย” เช่น
กล้วยไม้ในสกุลหวาย สกุลแคทลียา เป็นต้น กล้วยไม้ประเภท
แตกกอมีระบบรากทั้งที่เป็นรากดิน รากกึ่งดินและรากกึ่งอากาศ
กล้วยไม้ดินมีการเรียงตัวของใบม้วนซ้อนเวียนกันไปส่วนกล้วย
บางชนิดออกดอกที่ตาข้างตามข้อของลำลูกกล้วย บางชนิดออก
ไม้อากาศเรียงซ้อนทับกันการออกดอกบางชนิดออกดอกที่ยอด
ดอกได้ทั้งที่ตายอดและตาข้าง บางชนิดออกดอกเฉพาะลำลูก
กล้วยที่ทิ้งใบหมดแล้ว โคนเส้าเกสรยื่นยาวออกไปและเชื่อมตัด
กันกับกลีบรองดอก ลักษณะการถือฝักและเมล็ด ปลายฝักจะห้อย
ชี้ดินเมล็ดที่สมบูรณ์เมื่อแก่จะมีสีเหลือง ส่วนเมล็ดลีบมีสีขาว
กล้วยไม้ที่จัดอยู่ในประเภทแตกกอ ได้แก่ กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี
สกุลหวาย สกุลแคทลียา สกุลออนซิเดี้ยม และสกุลแกรมมาโตฟิลลั่ม

การเพาะพันธุ์กล้วยไม้ โดย ศ.ระพี 1/2

การเพาะพันธุ์กล้วยไม้ โดย ศ.ระพี 2/2

กล้วยไม้

Vanda

กล้วยไม้ตระกูลช้าง

กล้วยไม้สกุลเข็ม

กล้วยไม้สกุลเข็มได้สมญาว่าเป็น“ราชินีของกล้วยไม้แวนด้าแบบมินิหรือแบบกระเป๋า” เพราะเป็นกล้วยไม้ที่มีลักษณะเล็กทั้งขนาดต้น ช่อดอกขนาดดอก และมีดอกที่มีสีสดใสสะดุดตามากกว่ากล้วยไม้อื่นๆ ในธรรมชาติพบกล้วยไม้สกุลนนี้กระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา พม่าไทย ลงไปถึงอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ จัดเป็นกล้วยไม้ประเภทไม่แตกกอมีการเจริญเติบโตขึ้นไปทางส่วนยอด เช่นเดียวกับกล้วยไม้สกุลช้าง สกุลแวนด้า สกุลกุหลาบ มีลำต้นสั้น ใบเรียงแบบซ้อนทับกัน รากเป็นระบบรากอากาศออกดอกตามข้อของลำต้นระหว่างใบ ช่อดอกตั้งตรงเป็นรูปทรงกระบอกจัดเป็นกล้วยไม้ประเภทแวนด้าที่มีดอกขนาดเล็ก ในประเทศไทยมีกล้วยไม้สกุลเข็มแท้อยู่ 4 ชนิดคือ เข็มแสด เข็มแดง เข็มม่วง และเข็มหนู แต่ที่มีบทบาทสำคัญในการผสมปรับปรุงพันธุ์ คือ เข็มแดง เข็มแสด และเข็มม่วง

เข็มแดง(Ascocentrum curvifolium)


พบกระจายพันธุ์ในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย มาทางประเทศพม่าจนถึงประเทศไทย แถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก และ กาญจนบุรีที่ระดับความสูง 100-300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ใบมีสีเขียวอ่อน ค่อนข้างอวบน้ำ ใบแคบ โค้ง เรียว ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ในฤดูแล้งขอบใบจะปรากฏจุดสีม่วงประปราย และจะหนาแน่ขึ้นเมื่อแล้งเพิ่มมากขึ้น ดอกสีแดงอมส้ม ดอกโตประมาณ 1.5 เซนติเมตร ช่อดอกรูปทรงกระบอก ตั้งตรง แข็ง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ดอกแน่นช่อ บานทนนับเป็นสัปดาห์ ออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม

เข็มแสด(Ascocentrum miniatum)


พบกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในทุกภาคของประเทศไทย ทั้งในลักษณะภูมิประเทศที่ราบและที่เป็นภูเขา จึงสามารถปลูกเลี้ยงได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย เข็มแสดมีลำต้นไม่สูงนัก ใบเรียงซ้อนกันแน่น ใบอวบหนา ปลายใบเป็นฟันแหลม และโค้งเล็กน้อย ใบสีเขียวแก่ และอาจมีสีม่วงบ้างเล็กน้อยเมื่อมีสภาพอากาศแห้งแล้ง ใบยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ1-1.5 เซนติเมตร ดอกมีกลีบหนา ผิวกลีบเป็นมันสีส้ม หรือสีเหลืองส้มขนาดดอกโตประมาณ 1–1.5 เซนติเมตร ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก ดอกแน่นช่อ ช่อหนึ่งอาจมีมากกว่า 50 ดอก ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม

เข็มม่วง(Ascocentrum ampullaceum)


พบตามธรรมชาติในประเทศไทยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก และต่ำลงไปถึงจังหวัดกาญจนบุรี ที่ระดับความสูงกว่าเข็มแดง เข็มม่วงมีลำต้นตั้งแข็งใบแบนกว้าง ปลายตัดและมีฟันแหลมๆ ไม่เท่ากันทลายฟัน ใบยาวประมาณ15 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ใบสีเขียวคล้ำ ในฤดูแล้งใบจะมีจุดสีม่วงเล็กน้อย ดอกสีม่วงแดง ก้านดอกสั้นเป็นสีเดียวกับดอกเดือยดอกยาวดอกโตประมาณ 2 เซนติเมตร

เข็มหนู(Ascocentrum semiteretifolium)


เป็นกล้วยไม้ที่มีใบเป็นแบบใบกลม มีร่องลึกทางด้านบนของใบ ใบกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร มีดอกสีม่วงอ่อนมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทยพบที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ระดับความสูง 1,800-1,900 เมตรจากระดับน้ำทะเลเป็นกล้วยไม้ที่ค่อนข้างหายาก ลักษณะของต้นและดอกไม่เป็นที่นิยมของนักปลูกเลี้ยง

ป ร ะ วั ติ ก ล้ ว ย ไ ม้ ไ ท ย


กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม มีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานนาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้า ประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้เลี้ยงต้นกล้ายไม้จน กระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อ และส่งออกเอง แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็น อาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของ กล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย จากการสำรวจในอดีตพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้อยู่ในป่าธรรมขาติไม่ต่ำกว่า1,000 ชนิด ทั้งประเภทที่พบอยู่บนต้นไม้ บนพื้นผิวของภูเขาและบนพื้นดิน สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวยแก่การเจริญงอกงามของกล้วยไม้เป็นอย่าง มาก ในอดีตชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีกล้วยไม้ป่าอุดมสมบูรณ์ ได้นำกล้วยไม้ป่ามาปลูกเลี้ยงโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำ กล้วยไม้มาปลูกไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ไกล้ๆ บ้านเรือน การเลี้ยงกล้วยไม้เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการปลูกเลี้ยงอย่างจริงจังโดยชาวตะวันตกผู้หนึ่ง ที่เข้า มาทำธุรกิจในประเทศไทย เห็นว่าสภาพแวดล้อม ของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จึงได้สร้างเรือนกล้วยไม้อย่างง่ายๆ และ นำเอากล้วยไม้ป่าจากเขตร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกล้วยไม้ในเอ เชียและเอเซียแปซิฟิค โดยนำมาปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรกในขณะเดียวกันก็มีเจ้านายชั้นสูงและบรรดาข้าราชการที่ใกล้ชิด ให้ความสนใจเลี้ยงกล้วย ไม้เป็นงานอดิเรกเช่นกัน

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

ประเทศญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นมีเนื้อที่กว่า 377,835 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 62 ของโลก[7] หมู่เกาะญี่ปุ่นประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่กว่า 3,000 เกาะ
ภูเขาไฟฟูจิยามาเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วที่มีความงามจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลก และกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ

ท่านสามารถดาวน์โหลดข้อมูลในรูปแบบ Microsoft Word ได้ที่นี่
http://th.upload.sanook.com/A0/6d636f19725fe7cb74377e8e94493133

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552

http://pdkookkik.blogspot.com/

http://pdkookkik.blogspot.com/


ann-chelseaict

wasna

marchmero

http://http://parunchar.blogspot.com/2009/04/blog-post_9290.html

neno



http://http://nenolaw.blogspot.com/


Meepooh


ployniiz

somrong

toonny

sarawut007

The best

kukkik0924

Sukanya

NU-KARN_1004

rungringnu1045

Malivan

EmpTy.NooNZa

thitima ketkaew

Netnapa

wongsakorn

อรรครินทร์

ajitti

piyaporn80

nutthagon

paweena

jirapron999

Kuala Lumpur, Malaysia

wanida pusihated

http://nussa-wanida.blogspot.com

patchareeya kaewpikul

patchareeya kaewpikul

OhMoChang

OhMoChang

poom

poom

♥NamfoN♥

♥NamfoN♥

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2552