คล็ดลับดูแลสุขภาพ สวยด้วยขมิ้นสด ขมิ้นเป็นสมุนไพรธรรมชาติ นอกจากจะนำมาปรุงอาหารแล้ว ยังสามารถทำให้สวยได้อีกด้วย วันนี้เกร็ดความรู้มีวิธีทำมาฝากกัน....
ส่วนผสม - ขมิ้นสด (เล็กน้อย)
- ดินสอพอง 2-3 เม็ด
- มะนาว 1 ผล
วิธีทำ นำขมิ้นสดมาล้างน้ำให้สะอาดหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ปั่นรวมกับดินสอพองและมะนาวจะละเอียด รวมเป็นเนื้อเดียวกัน จะได้เนื้อครีมข้น และเหนียว นำมาพอกกับหน้าที่สะอาดก่อนเข้านอน โดยพอกทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที จึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด จะรู้สึกผิวหน้าสดชื่นและเต่งตึงขึ้นด้วย ทำเป็นประจำสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ภายในเวลาไม่ถึงเดือนจะสังเกตเห็นว่าผิวหน้าดูดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงจนสามารถสังเกตได้ ถ้าใครอยากมีผิวหน้าที่ดูดี ก็อย่าลืมนำวิธีที่แนะนำไปปฏิบัติตามกันได้.
วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
กล้วยไม้แคทลียา
แคทลียา หรือ คัทลียา ( Cattleya ) กล้วยไม้ดอกสวย มีกลิ่นหอม นิยมปลูกกันมาก ออกดอกทั้งแบบดอกเดี่ยวและดอกคู่ ใบอวบอ้วนและเป็นปล้อง รากจะเกาะยึดแนบไปกับวัสดุปลูก ลำต้นกล้วยเจริญเติบโตในแนวนอน แตกหน่อยไปตามลำต้น ปลูกได้ทั้งแบบใส่กระถางแขวน และ ปลูกใส่กระถางตั้งพื้น แต่ส่วนใหญ่จะนิยมปลูกแบบกระถางแขวนภาพแสดงต้นกล้วยของกล้วยไม้แคทรียาเจริญเติบโตในแนวนอน ปลูกในกระถางแบบแขวนและแบบกระถางตั้งพ้น
การปลูก วัสดุปลูกนิยมใช้ถ่าน และ เปลือกมะพร้าวเผาเพื่อให้รากกล้วยไม้เกาะยึด ถ่านกาบมะพร้าวเผาจะดีกว่าเพราะจะเก็บความชื้นจากน้ำที่รดแล้วรากกล้วยไม้ก็จะดูดความชื้นจากวัสดุปลูก
การปลูก วัสดุปลูกนิยมใช้ถ่าน และ เปลือกมะพร้าวเผาเพื่อให้รากกล้วยไม้เกาะยึด ถ่านกาบมะพร้าวเผาจะดีกว่าเพราะจะเก็บความชื้นจากน้ำที่รดแล้วรากกล้วยไม้ก็จะดูดความชื้นจากวัสดุปลูก
กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี
เป็นกล้วยไม้สกุล Paphiopedilum มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหลาย
ชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือ บุหงากะสุต ในภาษามาเลเซีย
อันหมายถึงรองเท้าของสตรี เนื่องจากกลีบดอก หรือที่เรียกว่า “กระเป๋า”
มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ ของชาวเนเธอแลนด์
กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิด
พันธุ์
กล้วยไม้รองเท้านารี มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และเขตร้อน
แถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และใน
ประเทศไทยซึ่งพบกล้วยไม้รองเท้านารีขึ้นอยู่ในป่าทั่วๆ ไป บางชนิดเกาะ
อาศัยอยู่ตามต้นไม้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวกที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินหรือซอก
หินที่มีต้นไม้ใบหญ้าเน่าตายทับถมกัน เจริญงอกงามในที่โปร่ง ไม่ชอบที่รกทึบ
แสงแดดส่องถึง
โดยธรรมชาติของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีทุกชนิด เมื่อออกดอกแล้ว
ก็จะตายไป แต่ก่อนตายจะแตกหน่อทดแทน ซึ่งหน่อนี้ก็จะเจริญงอกงามเป็นต้น
ใหม่ต่อไป ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้รองเท้านารี ที่สำรวจพบ ได้แก่
รองเท้านารีเมืองเลย
เป็นกล้วยไม้แบบ sympodial แบบไม่มีลำลูกกล้วย ระบบรากเป็นแบบรากกึ่งดิน
ออกเป็นกระจุกที่โคนต้นและมักทอดไปทางด้านราบมากกว่าหยั่งลึกลงไปในดิน ใบรูปขอบขนาน
ออกดอกเดี่ยว กว้างประมาณ 8 ซม. ก้านดอกยาวและตั้งตรงสีเขียว มีขนสั้นสีม่วงแดงจำนวนมาก
กลีบเลี้ยงบนรูปไข่กลับ โคนกลีบสีน้ำตาลอมเหลือง ปลายกลีบสีเขียว กลีบดอกรูปแถบแกมรูปไข่กลับ
โคนสีเขียว ปลายสีม่วงอมชมพู ขอบด้านบหยักเป็นคลื่น มีขนปกคลุทั่วทั้งกลีบ กลีบปากเป็นถุงลึก
สีเหลืองอมเขียวมีจุดเล็กๆ สีน้ำตาล ออกดอกช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม
วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
รองเท้านารีอินทนนท์
เป็นพันธุ์กล้วยไม้ที่พบเมื่อ พ.ศ. 2396 มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณแถบที่มีอากาศชื้นและอุณหภูมิต่ำ
เช่น ดอยอินทนนท์ และภูเขาสูง ลักษณะของกล้วยไม้
พันธุ์นี้ คือ มีใบสีเขียวสม่ำเสมอทั้งใบ ไม่มีลาย โคนใบ
ส่วนใกล้กับเหง้ามีจุดสีม่วงประปราย และค่อยๆ จาง
หายตรงส่วนปลายใบใบยาวบางและอ่อนเป็นรองเท้านารี
ที่มีเกสรตัวผู้ต่างจากชนิดอื่นคือเกสรตัวผู้จับตัวรวมเป็น
ก้อนแข็งค่อนข้างใสมีสีเหลืองไม่เป็นยางเหนียว
เช่น ดอยอินทนนท์ และภูเขาสูง ลักษณะของกล้วยไม้
พันธุ์นี้ คือ มีใบสีเขียวสม่ำเสมอทั้งใบ ไม่มีลาย โคนใบ
ส่วนใกล้กับเหง้ามีจุดสีม่วงประปราย และค่อยๆ จาง
หายตรงส่วนปลายใบใบยาวบางและอ่อนเป็นรองเท้านารี
ที่มีเกสรตัวผู้ต่างจากชนิดอื่นคือเกสรตัวผู้จับตัวรวมเป็น
ก้อนแข็งค่อนข้างใสมีสีเหลืองไม่เป็นยางเหนียว
รองเท้านารีเหลืองปราจีน
ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2402 มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปรา
จีนบุรี ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบลาย ท้องใบสีม่วง ก้านดอกยาวมีขน
อาจมี 2–3 ดอกบนก้านเดียวกันได้ กลีบดอกด้านบนผายออกคล้ายพัด ปลายมนสูง
กลีบในกางพอประมาณ เมื่อดอกบานจะคุ้มมาข้างหน้าแลดูคล้ายดอกบานไม่เต็มที่
พื้นดอกสีเหลืองอ่อน มีประจุดเล็กๆ สีม่วงประปราย กระเปาะสีเดียวกับกลีบดอก
ปลายกระเปาะค่อนข้างเรียวแหลมและงอนปลายเส้าเกสรเป็นแผ่นใหญ่
จีนบุรี ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบลาย ท้องใบสีม่วง ก้านดอกยาวมีขน
อาจมี 2–3 ดอกบนก้านเดียวกันได้ กลีบดอกด้านบนผายออกคล้ายพัด ปลายมนสูง
กลีบในกางพอประมาณ เมื่อดอกบานจะคุ้มมาข้างหน้าแลดูคล้ายดอกบานไม่เต็มที่
พื้นดอกสีเหลืองอ่อน มีประจุดเล็กๆ สีม่วงประปราย กระเปาะสีเดียวกับกลีบดอก
ปลายกระเปาะค่อนข้างเรียวแหลมและงอนปลายเส้าเกสรเป็นแผ่นใหญ่
รองเท้านารีเมืองกาญจน์
รองเท้านารีเหลืองตรัง
ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2419 ขึ้นตามโขดหิน ถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณเกาะรัง จังหวัด
ชุมพร ลักษณะเด่น คือ ใบลาย ท้องใบสีม่วง ปลายมนคล้ายรูปลิ้น ก้านดอกสีม่วงมี
ขน ดอกโตสีครีมเหลือง กลีบนอกบนรูปกลม ปลายยอดแหลมเล็กน้อย กลีบในสอง
ข้างกลมรี ปลายกลีบเว้า ประจุดลายสีน้ำตาลจางตรงโคนกลีบแล้วค่อยจางออกตอน
ปลาย ปากกระเปาะขาวไม่มีลาย
ชุมพร ลักษณะเด่น คือ ใบลาย ท้องใบสีม่วง ปลายมนคล้ายรูปลิ้น ก้านดอกสีม่วงมี
ขน ดอกโตสีครีมเหลือง กลีบนอกบนรูปกลม ปลายยอดแหลมเล็กน้อย กลีบในสอง
ข้างกลมรี ปลายกลีบเว้า ประจุดลายสีน้ำตาลจางตรงโคนกลีบแล้วค่อยจางออกตอน
ปลาย ปากกระเปาะขาวไม่มีลาย
กล้วยไม้สกุลฟาแลนอปซีส
กล้วยไม้ฟาแลนอปซีส ปลูกเลี้ยงกันในประเทศไทยมานานแล้ว
แต่ไม่ค่อยมีผู้สนใจมากนักเนื่องจากดอกมีขนาดเล็ก แต่ปัจจุบันกล้วยไม้
สกุลนี้กำลังเป็นที่สนใจของผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ทั่วไป ทั้งนี้ก็เพราะกล้วย
ไม้สกุลนี้ได้ถูกปรับปรุงพันธุ์และผสมกันมาหลายทอด จนทำให้สวยงาม
ทั้งรูปทรงดอกและสีของดอก ดอกกลมใหญ่ กลีบหนา ดอกมีหลายสี เช่น
สีขาว สีชมพู สีเหลือง ก้านช่อยาว เหมาะสำหรับปักแจกัน ต้นหนึ่งออก
ดอกได้หลายช่อ แต่ละพันธุ์ออกดอกต่างเดือนกันบางชนิดออกดอกใน
เดือนที่ตลาดต้องการดอกไม้ตัดดอก จึงทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ตัดดอก
สนใจการเลี้ยงกล้วยไม้สกุลนี้มากขึ้น
กล้วยไม้ฟาแลนอปซีส มีแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติและกระจาย
พันธุ์อยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ บอร์เนียว ชวา สุมาตรา มาเลเซีย สำหรับประเทศ
ไทยมีกล้วยไม้สกุลนี้อยู่ 2-3 ชนิด เช่น เขากวาง กาตาฉ่อ ขนาดของดอกมี
ใหญ่และเล็กตามลักษณะของพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกกันอยู่ในขณะนี้เป็นพันธุ์
ลูกผสม ที่มีการปรับปรุงพันธุ์และผสมกันมาหลายทอด จนดอกกลมใหญ่
ลักษณะของลำต้นทรงเตี้ยตรง การเจริญเติบโตเป็นแบบโมโนโพเดี้ยล ใบ
อวบน้ำ ค่อนข้างหนาแผ่แบนรูปคล้ายใบพาย ดอกกลมใหญ่ ขนาดกว้าง
ประมาณ 5-8 ซม. กลีบหนา ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู สีเหลือง
มองดูดอกแล้วงาม ทั้งฟอร์มดอกและสี ก้านช่อยาว บางช่อยาวถึง 80 ซม.
ช่อหนึ่งมีหลายดอก เรียงไปตามก้านช่ออย่างมีระเบียบ บางต้นแยกออกเป็น
หลายช่อ ดอกบานทน ถ้าบานอยู่กับต้นสามารถบานอยู่ได้นานเป็นเดือน
เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่ายสามารถเจริญงอกงามและออกดอกให้ได้ดีในสภาพ
สิ่งแวดล้อมต่างๆ กัน
แต่ไม่ค่อยมีผู้สนใจมากนักเนื่องจากดอกมีขนาดเล็ก แต่ปัจจุบันกล้วยไม้
สกุลนี้กำลังเป็นที่สนใจของผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ทั่วไป ทั้งนี้ก็เพราะกล้วย
ไม้สกุลนี้ได้ถูกปรับปรุงพันธุ์และผสมกันมาหลายทอด จนทำให้สวยงาม
ทั้งรูปทรงดอกและสีของดอก ดอกกลมใหญ่ กลีบหนา ดอกมีหลายสี เช่น
สีขาว สีชมพู สีเหลือง ก้านช่อยาว เหมาะสำหรับปักแจกัน ต้นหนึ่งออก
ดอกได้หลายช่อ แต่ละพันธุ์ออกดอกต่างเดือนกันบางชนิดออกดอกใน
เดือนที่ตลาดต้องการดอกไม้ตัดดอก จึงทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ตัดดอก
สนใจการเลี้ยงกล้วยไม้สกุลนี้มากขึ้น
กล้วยไม้ฟาแลนอปซีส มีแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติและกระจาย
พันธุ์อยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ บอร์เนียว ชวา สุมาตรา มาเลเซีย สำหรับประเทศ
ไทยมีกล้วยไม้สกุลนี้อยู่ 2-3 ชนิด เช่น เขากวาง กาตาฉ่อ ขนาดของดอกมี
ใหญ่และเล็กตามลักษณะของพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกกันอยู่ในขณะนี้เป็นพันธุ์
ลูกผสม ที่มีการปรับปรุงพันธุ์และผสมกันมาหลายทอด จนดอกกลมใหญ่
ลักษณะของลำต้นทรงเตี้ยตรง การเจริญเติบโตเป็นแบบโมโนโพเดี้ยล ใบ
อวบน้ำ ค่อนข้างหนาแผ่แบนรูปคล้ายใบพาย ดอกกลมใหญ่ ขนาดกว้าง
ประมาณ 5-8 ซม. กลีบหนา ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู สีเหลือง
มองดูดอกแล้วงาม ทั้งฟอร์มดอกและสี ก้านช่อยาว บางช่อยาวถึง 80 ซม.
ช่อหนึ่งมีหลายดอก เรียงไปตามก้านช่ออย่างมีระเบียบ บางต้นแยกออกเป็น
หลายช่อ ดอกบานทน ถ้าบานอยู่กับต้นสามารถบานอยู่ได้นานเป็นเดือน
เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่ายสามารถเจริญงอกงามและออกดอกให้ได้ดีในสภาพ
สิ่งแวดล้อมต่างๆ กัน
เขากวาง(Phalaenopsis cornucervi (Breda) Bl. & Rchb. f.)
พบกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในประเทศไทย แถบภาคเหนือ ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ยกเว้นภาค
กลาง เขากวางออกดอกเป็นช่อ 2-3 ดอก กลีบสีเขียวอมเหลือง มีขีดสีน้ำตาล
ตามแนวขวางของกลีบหรืออาจไม่มี ซึ่งชนิดที่ไม่มีขีดสีน้ำตาลตามแนวขวาง
ของกลีบหาได้ยาก โคนกลีบปากกระดกขึ้น ดูเป็นหลอดยาว ปลายกระดกขึ้น
สีขาว มีริ้วสีชมพูอมม่วงกระจาย ดอกขนาด 3-4 เซนติเมตร ออกดอกตลอดปี
ดอกดกเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม
ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ยกเว้นภาค
กลาง เขากวางออกดอกเป็นช่อ 2-3 ดอก กลีบสีเขียวอมเหลือง มีขีดสีน้ำตาล
ตามแนวขวางของกลีบหรืออาจไม่มี ซึ่งชนิดที่ไม่มีขีดสีน้ำตาลตามแนวขวาง
ของกลีบหาได้ยาก โคนกลีบปากกระดกขึ้น ดูเป็นหลอดยาว ปลายกระดกขึ้น
สีขาว มีริ้วสีชมพูอมม่วงกระจาย ดอกขนาด 3-4 เซนติเมตร ออกดอกตลอดปี
ดอกดกเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม
กาตาฉ่อ(Phalaenopsis decumbens Holtt.)
กล้วยไม้ตระกูลช้าง
จากการสำรวจพบว่ากล้วยไม้สกุลช้างที่มีอยู่ในโลก มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ประเทศในแถบอินโดจีน
อินเดีย ศรีลังกา ภาคใต้ของหมู่เกาะในทะเลจีน และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก สำหรับ
ในประเทศไทยพบว่ากล้วยไม้สกุลช้างมีกระจายพันธุ์อยู่ทุกภาคของประเทศ บางภาค
อาจมีกล้วยไม้สกุลช้างชนิดหนึ่งแต่อาจไม่มีอีกชนิดหนึ่ง กล้วยไม้สกุลช้าง ที่พบตาม
ธรรมชาติเพียง 4 ชนิด คือ ช้าง (Rhynchostylis gigantea) ไอยเรศหรือพวงมาลัย
(Rhynchostylis retusa) เขาแกะ (Rhynchostylis coelestis) และช้างฟิลิป
ปินส์ (Rhynchostylis violacea) สำหรับ 3 ชนิดแรกมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและ
ประเทศใกล้เคียง ส่วนช้างฟิลิปปินส์มีถิ่นกำเนิดอยู่ ในประเทศฟิลิปปินส์
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ประเทศในแถบอินโดจีน
อินเดีย ศรีลังกา ภาคใต้ของหมู่เกาะในทะเลจีน และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก สำหรับ
ในประเทศไทยพบว่ากล้วยไม้สกุลช้างมีกระจายพันธุ์อยู่ทุกภาคของประเทศ บางภาค
อาจมีกล้วยไม้สกุลช้างชนิดหนึ่งแต่อาจไม่มีอีกชนิดหนึ่ง กล้วยไม้สกุลช้าง ที่พบตาม
ธรรมชาติเพียง 4 ชนิด คือ ช้าง (Rhynchostylis gigantea) ไอยเรศหรือพวงมาลัย
(Rhynchostylis retusa) เขาแกะ (Rhynchostylis coelestis) และช้างฟิลิป
ปินส์ (Rhynchostylis violacea) สำหรับ 3 ชนิดแรกมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและ
ประเทศใกล้เคียง ส่วนช้างฟิลิปปินส์มีถิ่นกำเนิดอยู่ ในประเทศฟิลิปปินส์
ช้าง(Rhynchostylis gigantea)
กล้วยไม้ช้างมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พม่า ทางตอนใต้
ของจีน ประเทศในแถบอินโดจีน อินโดนีเซีย และหมู่เกาะทะเลจีนใต้
สำหรับในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในแถบภาคเหนือ
เช่น เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น หนองคา มุกดาหาร สกล
นคร เลย นครราชสีมา ต่ำลงมาจนถึงตอนเหนือของภาคกลาง เช่น นคร
สวรรค์ ชัยนาท และภาคตะวันออก เช่น ปราจีนบุรี และแถบจังหวัด
กาญจนบุรี พบขึ้นกระจายทั่วไปในป่าที่มีระดับความสูงประมาณ 260-350
เมตรจากระดับน้ำทะเล
กล้วยไม้ช้างเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากเนื่องจากเลี้ยงได้ง่าย ออกดอก
ทุกปี การที่กล้วยไม้ชนิดนี้ได้ชื่อว่า “ช้าง” อาจมาจากสองกรณีคือ ลักษณะ
ที่มีลำต้น ใบ ราก ช่อดอก และดอกใหญ่กว่ากล้วยไม้ชนิดอื่น อีกกรณีหนึ่ง
อาจเป็นเพราะดอกตูมของกล้วยไม้ชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายหัวช้างและมีเดือย
ดอกคล้ายกับงวงช้าง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)